0
ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลเพชรพะงัน
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพะงัน ได้ประกาศจัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวง มหาดไทย ลงวันที่ 2 มีนาคม 2538 (ลำดับที่ 599 โดยจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก) ปรับเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล ขนาดกลาง เมื่อ ปี พ.ศ. 2552
ปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นเทศบาลและเปลี่ยนแปลงชื่อจากองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพะงันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเพชรพะงัน ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 25552 มาตรา 42 “ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยเทศบาล” อาจจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพะงัน ได้ดำเนินการตามขั้นตอนการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพะงันเป็นเทศบาลเรียบร้อยแล้ว ซึ่งถ้าหากองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพะงัน จัดตั้ง/เปลี่ยนแปลงฐานะโดยไม่เสนอขอเปลี่ยนชื่อเดิม “ เทศบาลตำบลเกาะพะงัน” ก็จะไปทับซ้อนกับ “เทศบาลตำบลเกาะพะงัน” ที่มีอยู่ก่อนแล้ว จะก่อให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดต่อหน่วยงานและส่วนราชการต่างๆ ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไปที่จะประสานงานและติดต่อราชการ
เพชรพะงัน คือ ชื่อที่มาจากคำขวัญของอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี “ ร.5 ธารเสด็จ หลวงพ่อเพชร ศูนย์รวมใจ พระจันทร์สวย ทะเลใส หาดทรายขาว ปะการัง แพรวพราว เพชรกลางอ่าว เมืองคนดี” โดยนำเอาประโยค “เพชรกลางอ่าว” ซึ่งเป็นประโยคเปรียบเทียบ อำเภอเกาะพะงัน เปรียบเสมือน อัญมณีมีค่ากลางทะเลอ่าวไทย ดุจดังเพชร และให้คงชื่อเดิมขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพะงันไว้บ้าง จึงได้นำเอาประโยค “เพชรกลางอ่าว” โดยเฉพาะคำว่า “เพชร” มาผสมกับคำว่า “พะงัน” จึงได้เป็นชื่อ เพชรพะงัน การเปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพะงัน เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเพชรพะงัน เพื่อยกฐานะ/จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเพชรพะงัน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเพชรพะงัน และจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเพชรพะงัน ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2555 จึงเป็นเหตุให้สมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีตำบลเพชรพะงัน พ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 และประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีตำบลเพชรพะงัน เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2556 พร้อมประกาศรับรองผลการเลือกตั้งในวันที่ 10 เมษายน 2556
0
ข้อมูลศักยภาพตำบล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่อำเภอเกาะพะงัน
- มีเทศบาล จำนวน 4 เทศบาล ได้แก่
เทศบาลตำบลเกาะพะงัน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 1 – 3 ตำบลเกาะพะงัน
เทศบาลตำบลเพชรพะงัน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 4 – 8 ตำบลเกาะพะงัน
เทศบาลตำบลบ้านใต้ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 2 – 6 ตำบลบ้านใต้
เทศบาลตำบลเกาะเต่า ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 1 – 3 ตำบลเกาะเต่า
ประชากรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเพชรพะงัน
- ประชากรทั้งสิ้น 4,140 คน ชาย 2,007 คน หญิง 2,133 คน จำนวนครัวเรือน 2,680 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเกือบ 100% มีความหนาแน่นเฉลี่ย 43 คน/ตารางกิโลเมตร (ข้อมูล ณ. 31 เดือนธันวาคม 2555)
จำนวนหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน
- จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลเพชรพะงัน มี 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4,5,6,7,8
1. จำนวนหมู่บ้านตำบลเกาะพะงัน แบ่งการปกครองเป็น 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ชื่อกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน |
4 |
บ้านวกตุ่ม |
นายสมบัติ จามพัฒนานนท์ |
5 |
บ้านโฉลกบ้านเก่า |
นายทนงศักดิ์ อินทร์คง |
6 |
บ้านหินกอง |
นายขนบ ยวนานนท์ |
7 |
บ้านโฉลกหลำ |
นายพงศักดิ์ หาญกล้า |
8 |
บ้านศรีธนู |
นายพงศ์พันธุ์ สองเมือง |
2. ประชากร
1) จำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลเพชรพะงัน จำนวน 2,680 ครัวเรือน
2) จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลเพชรพะงัน จำนวน 4,140 คน
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร(คน) |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
|||
0 |
บ้านกลาง |
2 |
25 |
15 |
40 |
4 |
บ้านวกตุ่ม |
457 |
337 |
359 |
696 |
5 |
บ้านโฉลกบ้านเก่า |
264 |
227 |
245 |
472 |
6 |
บ้านหินกอง |
277 |
261 |
284 |
545 |
7 |
บ้านโฉลกหลำ |
881 |
718 |
776 |
1,494 |
8 |
บ้านศรีธนู |
799 |
439 |
454 |
893 |
รวม |
2,680 |
2,007 |
2,133 |
4,140 |
(ที่มา: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอเกาะพะงัน ณ เดือนธันวาคม 2555)
3) ความหนาแน่นเฉลี่ยของประชากร 43 คน /ตารางกิโลเมตร
หมู่ที่ 4 บ้านวกตุ่ม
สภาพภูมิศาสตร์
บ้านวกตุ่มเป็นหมู่ที่ 4 ของตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ทั้งหมด 10.5 ตารางกิโลเมตร 6,562.5 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตร 2,926 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จด หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ตำบลเกาะพะงัน
ทิศใต้ จด หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะพะงัน
ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ตำบลเกาะพะงัน
ทิศตะวันตก จด ทะเล
สภาพทางสังคม
- ประชากรทั้งหมด จำนวน 696 คน ชาย 337 คน หญิง 359 คน
- จำนวนหลังคาเรือน จำนวน 457 ครัวเรือน
- ศาสนา นับถือศาสนาพุทธ 100 เปอร์เซ็นต์
- มีวัด จำนวน 2 แห่ง
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพหลัก ทำสวนมะพร้าว
อาชีพรอง ธุรกิจการท่องเที่ยว, เลี้ยงสัตว์, ทำสวนผลไม้
อาชีพเสริม ประมง ปลูกผักสวนครัว
รายได้เฉลี่ย 42,000 บาท / ครัวเรือน / ปี
การศึกษา
ราษฎรในหมู่บ้าน อายุตั้งแต่ 14-50 ปี อ่านออกเขียนได้ทุกคน
การสาธารณูปโภค
- ครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ จำนวน 398 ครัวเรือน
- ครัวเรือนมีประปาหมู่บ้านใช้ จำนวน 53 ครัวเรือน
การคมนาคม
มีถนนในหมู่บ้านใช้ จำนวน 5 สาย
- ถนน คสล. จำนวน 3 สาย
- สายชายทะเล หมู่ 4, 6, 8
- สายโรงพยาบาล – ชายทะเล
- สายเขาหินนก
- ถนนลูกรัง จำนวน 2 สาย
- สายเขาขี้แรด - สานในนา – มะเดื่อหวาน
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
วัดภูเขาน้อย อ่าววกตุ่ม
หมู่ที่ 5 บ้านโฉลกบ้านเก่า
สภาพภูมิศาสตร์
บ้านโฉลกบ้านเก่า เป็นหมู่ที่ 5 ของตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ทั้งหมด 9 ตารางกิโลเมตร 5,625 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตร 1,935 ไร่ มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ จด เขาตาหลวง
ทิศใต้ จด หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะพะงัน
ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะพะงัน
ทิศตะวันตก จด หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะพะงัน
สภาพทางสังคม
- ประชากรทั้งหมด จำนวน 472 คน ชาย 227 คน หญิง 245 คน
- จำนวนหลังคาเรือน จำนวน 264 ครัวเรือน
- ศาสนา นับถือศาสนาพุทธ 100 เปอร์เซ็นต์
- มีวัด จำนวน 1 แห่ง
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพหลัก ทำสวนมะพร้าว
อาชีพรอง เลี้ยงสัตว์, ทำสวนผลไม้
อาชีพเสริม ปลูกผักสวนครัว
รายได้เฉลี่ย 35,000 บาท / ครัวเรือน / ปี
การศึกษา
มีสถานศึกษาจำนวน 2 แห่ง มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 156 คน สรุปได้ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดสมัยคงคา เทศบาลตำบลเพชรพะงัน
มีจำนวน 1 แห่ง (เตรียมอนุบาล 3 ขวบ ถึง 4 ขวบ) มีจำนวนทั้งหมด 28 คน
- มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ชั้นเรียนตั้งแต่ ชั้นอนุบาล 1 ถึง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 128 คน
- ราษฎรในหมู่บ้าน อายุตั้งแต่ 14-50 ปี อ่านออกเขียนได้ทุกคน
การสาธารณูปโภค
- ครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ จำนวน 271 ครัวเรือน
- ครัวเรือนมีประปาหมู่บ้านใช้ จำนวน 55 ครัวเรือน
การคมนาคม
มีถนนภายในหมู่บ้านใช้ จำนวน 8 สาย
- ถนน คสล. จำนวน 7 สาย
- สายรัตนโกสินทร์ศก 200 ปี
- สายวัดอัมพวัน – วัดสมัยคงคา
- สายร่องแร่
- สายวังหิน – บนบ้าน
- สายคูท่าลาย – บนบ้าน
- สายเขาธงชัย – วงแหวนประปา
- สายเทศบาลตำบลเพชรพะงัน
- ถนนลูกรัง จำนวน 2 สาย
- สายพังจีน
- สายทุ่งลากพระ
- สะพานคอนกรีต จำนวน 2 แห่ง
- บ่อสาธารณะ จำนวน 5 แห่ง
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
จุดชมวิวเขาเสาธง
หมู่ที่ 6 บ้านหินกอง
สภาพภูมิศาสตร์
บ้านหินกองเป็นหมู่ที่ 6 ของตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ทั้งหมด 8.3 ตารางกิโลเมตร 5,187.5 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตร 1,557 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จด เขาตาหลวง หมู่ที่ 8 ตำบลเกาะพะงัน
ทิศใต้ จด หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะพะงัน
ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะพะงัน
ทิศตะวันตก จด ทะเล
สภาพทางสังคม
- ประชากรทั้งหมด จำนวน 545 คน ชาย 261 คน หญิง 284 คน
- จำนวนหลังคาเรือน จำนวน 277 ครัวเรือน
- ศาสนา นับถือศาสนาพุทธ 100 เปอร์เซ็นต์
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพหลัก ธุรกิจท่องเที่ยว
อาชีพรอง ทำสวนมะพร้าว เลี้ยงสัตว์ ทำสวนผลไม้ ประมง
อาชีพเสริม รับจ้างทั่วไป
รายได้เฉลี่ย 35,000 บาท / ครัวเรือน / ปี
การศึกษา
ราษฎรในหมู่บ้าน อายุตั้งแต่ 14-50 ปี อ่านออกเขียนได้ทุกคน
การสาธารณูปโภค
- ครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ จำนวน 337 ครัวเรือน
- ครัวเรือนมีประปาหมู่บ้านใช้ จำนวน 75 ครัวเรือน
การคมนาคม
มีถนนภายในหมู่บ้านใช้ จำนวน 3 สาย
- ถนน คสล. จำนวน 1 สาย ระยะทาง 600 เมตร
- สายสุขตระการ
- ถนนลูกรัง จำนวน 1 สาย
- สายศาลาคอย – คลองวังหม่า
- ทางเรือ
- สะพานคอนกรีต จำนวน 2 แห่ง
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
ขุดหอยกลม ชมปะการัง
หมู่ที่ 7 บ้านโฉลกหลำ
สภาพภูมิศาสตร์
บ้านโฉลกหลำเป็นหมู่ที่ 7 ของตำบลเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ทั้งหมด 15 ตารางกิโลเมตร 9,375 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตร 5,222 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จด ทะเล
ทิศใต้ จด หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะพะงัน
ทิศตะวันออก จด ป่าสงวนแห่งชาติ
ทิศตะวันตก จด หมู่ที่ 8 ตำบลเกาะพะงัน
สภาพทางสังคม
- ประชากรทั้งหมด จำนวน 1,494 คน ชาย 718 คน หญิง 776 คน
- จำนวนหลังคาเรือน จำนวน 881 ครัวเรือน
- ศาสนา นับถือศาสนาพุทธ 100 เปอร์เซ็นต์
- มีวัด จำนวน 2 แห่ง
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพหลัก ธุรกิจท่องเที่ยว
อาชีพรอง ประมง ทำสวนมะพร้าว เลี้ยงสัตว์ ทำสวนผลไม้
อาชีพเสริม ปลูกผักสวนครัว
รายได้เฉลี่ย 60,000 บาท / ครัวเรือน / ปี
การศึกษา
มีสถานศึกษาจำนวน 3 แห่ง มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 142 คน สรุปได้ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านโฉลกหลำ เทศบาลตำบลเพชรพะงัน
มีจำนวน 1 แห่ง (เตรียมอนุบาล 3 ขวบ ถึง 4 ขวบ) มีจำนวน 14 คน
- มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ชั้นเรียนตั้งแต่ ชั้นอนุบาล 1 ถึง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 106 คน
- มีโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ชั้นเรียนตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 22 คน
- ราษฎรในหมู่บ้าน อายุตั้งแต่ 14-50 ปี อ่านออกเขียนได้ทุกคน
การสาธารณูปโภค
- ครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ จำนวน 670 ครัวเรือน
- ครัวเรือนมีประปาหมู่บ้านใช้ จำนวน 19 ครัวเรือน
การคมนาคม
มีถนนภายในหมู่บ้านใช้ จำนวน 10 สาย
- ถนน คสล. จำนวน 8 สาย
- สายท้องศาลา – โฉลกหลำ (โยธาธิการ)
- สายโฉลกหลำ – หาดขอม
- สายม่วงหวาน – ดอนขี้หมู
- สายตลาดโฉลกหลำ
- สายแม่หาด
- สายหน้าวัดโฉลกหลำ
- สายอู่ใจยนต์ – หาดขอม
- สายทางลงอ่าวหินงาม
- ถนนลูกรัง จำนวน 2 สาย
- สายชายทะเล – แฟนต้าบังกะโล
- สายทางลงหาดท้องหลาง
- สะพานคอนกรีต จำนวน 2 แห่ง
- ทางเรือ จำนวน 1 แห่ง
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
หาดหินงาม ศาลเจ้าแม่กวนอิม หาดขอม หาดขวด หาดทองหลาง อ่าวแม่หาดและเกาะม้า
หมู่ที่ 8 บ้านศรีธนู
สภาพภูมิศาสตร์
บ้านศรีธนูเป็นหมู่ที่ 8 ของตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ทั้งหมด 18.2 ตารางกิโลเมตร 11,375 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตร 8,324 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จด หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะพะงัน
ทิศใต้ จด หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะพะงัน
ทิศตะวันออก จด เขาตาหลวง
ทิศตะวันตก จด ทะเล
สภาพทางสังคม
- ประชากรทั้งหมด จำนวน 893 คน ชาย 439 คน หญิง 454 คน
- จำนวนหลังคาเรือน จำนวน 799 ครัวเรือน
- ศาสนา นับถือศาสนาพุทธ 100 เปอร์เซ็นต์
- มีวัด จำนวน 1 แห่ง
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพหลัก ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจบังกะโล
อาชีพรอง ทำสวนมะพร้าว ประมง เลี้ยงสัตว์ ทำสวนผลไม้
อาชีพเสริม รับจ้างทั่วไป
รายได้เฉลี่ย 55,000 บาท / ครัวเรือน / ปี
การศึกษา
- มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง รวมตั้งแต่ ชั้นอนุบาล ถึง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 136 คน
- ราษฎรในหมู่บ้าน อายุตั้งแต่ 14-50 ปี อ่านออกเขียนได้ทุกคน
การสาธารณูปโภค
- ครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ จำนวน 538 ครัวเรือน
- ครัวเรือนมีประปาหมู่บ้านใช้ จำนวน 148 ครัวเรือน
การคมนาคม
มีถนนภายในหมู่บ้านใช้ จำนวน 12 สาย
- ถนน คสล. จำนวน 7 สาย
- สายศรีธนู – หาดยาว
- สายหาดยาว – หาดสลัด
- สายทางลงหาดสลัด
- สายศรีธนู – ลอยฟ้าบังกะโล
- สายวัดศรีธนู
- สายหินถ้ำ – วังตะเคียน
- สายวังตะเคียน – หาดเทียน
- ถนนลูกรัง จำนวน 5 สาย
- สายทุ่งไฟ
- สายวัดหินถ้ำ
- สายวังตะเคียน – วังปลาดุก
- สายแหลมนาโท
- สายหาดเทียน – ชายทะเล
- ท่าเรือ จำนวน 1 ท่า
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
บึงแหลมสน อ่าวเทียน อ่าวหาดกรวด อ่าวหาดสลัด อ่าวหาดยาว
0
สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของเทศบาลตำบลเพชรพะงันแสดงเนื้อที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่ 61 ตารางกิโลเมตร = 38,125 ไร่
ภูมิประเทศ
ตำบลเกาะพะงันเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 3 ตำบล ของอำเภอเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี มีสภาพเป็นเกาะ อยู่ในบริเวณอ่าวไทย เป็นตำบลที่มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 1 ของตำบลในอำเภอเกาะพะงัน ห่างจากตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 100 กิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่ประกอบด้วยเกาะพื้นที่หลักจำนวน 3 เกาะ คือ เกาะพะงัน เกาะแตนอก เกาะม้า และเกาะบริวาร จำนวน 5 เกาะ คือ เกาะกงเกลี้ยง เกาะกงนุ้ย เกาะว่าวใหญ่ เกาะญี่ปุ่น (ตุ้งกูตุ้งกา) และเกาะหินใบ
ในจำนวน 8 เกาะนี้ ได้มีประชาชนอยู่อาศัย 2 เกาะ คือ เกาะพะงัน และเกาะม้า ส่วนเกาะแตนอก
ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอีแอ่นเป็นจำนวนมากซึ่งก่อนหน้านี้เคยได้มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจของท้องถิ่นได้ประเมินมูลค่าทางด้านทรัพยากรของเกาะแตนอก ในอีก 15 ปี ข้างหน้ามีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะและทางทิศตะวันออกเป็นโขดหิน โดยเฉพาะหาดขวดซึ่งเป็นหาดที่เชื่อมต่อตำบลและเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเทศบาลตำบลเพชรพะงัน และเทศบาลตำบลบ้านใต้ ซึ่งมีโขดหินติดชายทะเล และ ณ จุดนี้จึงได้กำเนิด ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมเชื่อมต่อตำบลเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยมีแผนงานรองรับ คือโครงการถนนรอบเกาะ บ้านโฉลกหลำ – หาดขวด - ท้องนายปาน เพราะสถานที่แห่งนี้เป็นดินแดนที่สงบศักดิ์สิทธิ์และมหัศจรรย์ ประกอบกับสถานที่ท่องเที่ยวในโซนนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพหลายแห่งที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ บนเทือกเขา จากทะเล สู่ภูผา และจากภูผาสู่ยอดเขาหรา ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด และเป็นสัญลักษณ์ของหมู่เกาะในอำเภอเกาะพะงัน ที่มีทัศนียภาพที่โดดเด่นที่สวยงามมาก และยังเป็นแหล่งกำเนิด ต้นน้ำลำธาร ห้วย คลองหลายสาย แต่เป็นเพียงสายน้ำเล็ก ๆ ที่มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อยในฤดูแล้งเท่านั้น
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศทั่วไปของตำบลเกาะพะงัน มีฝนตกเกือบตลอดปี เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากมหาสมุทรอินเดีย และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย แต่ลักษณะอากาศโดยทั่วไป จัดอยู่ในเกณฑ์อบอุ่น
ฤดู
เกาะพะงันสามารถแบ่งฤดูกาลออกได้ 2 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน และช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนที่สุด
- ฤดูฝน อยู่ในช่วงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - มกราคม โดยสามารถแบ่งได้ 2 ช่วง คือ ช่วงแรก ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม เป็นช่วงที่อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านมหาสมุทรอินเดียช่วงที่สอง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - มกราคม เป็นช่วงที่อยู่ในอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย
ปริมาณน้ำฝน
ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยประมาณ 1,919.3 มม. ช่วงเวลาที่ฝนตกในรอบปีประมาณ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม โดยมีฝนร้อยละ 59.9 ของปริมาณที่ฝนตกทั้งปี 158.5 วัน และเดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนที่มีจำนวนวันฝนตกมากที่สุด 20.2 วันต่อเดือน
อุณหภูมิ
อุณหภูมิ ค่าเฉลี่ยประมาณ 27.8 องศาเซลเซียส ในรอบปีมีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 30.9 องศาเซลเซียส สูงสุดในเดือนเมษายน ประมาณ 36.5 องศาเซลเซียส และในรอบปีมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประมาณ 25 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิต่ำที่สุดในเดือนมกราคม ประมาณ 18.6 องศาเซลเซียส
ลม
ลักษณะของลมที่พัดผ่าน แบ่งออกเป็น 2 ทิศทาง คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม เป็นลมที่พัดผ่านมาจากทางตะวันตก ด้านความเร็วเฉลี่ยระหว่าง 3.8-6.0 น็อต และเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน เป็นลมที่พัดผ่านมาจากทางทิศตะวันออก ด้วยความเร็วเฉลี่ยสูงสุดเท่าที่เคยมีประมาณ 50 น็อต
สรุปได้ว่า ตำบลเกาะพะงันมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยใกล้เคียงกันตลอดทั้งปี (27.8 องศาเซลเซียส) มีลมพัดเข้าสู่เกาะเปลี่ยนแปลงในทุกทิศทางตลอดทั้งปี แต่ไม่ปรากฏ
ภัยธรรมชาติร้ายแรงแต่อย่างใด
การปกครอง ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเพชรพะงัน
หมู่ที่ 4 บ้านวกตุ่ม เทศบาลตำบลเพชรพะงัน
หมู่ที่ 5 บ้านโฉลกบ้านเก่า เทศบาลตำบลเพชรพะงัน
หมู่ที่ 6 บ้านหินกอง เทศบาลตำบลเพชรพะงัน
หมู่ที่ 7 บ้านโฉลกหลำ เทศบาลตำบลเพชรพะงัน
หมู่ที่ 8 บ้านศรีธนู เทศบาลตำบลเพชรพะงัน
อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจการท่องเที่ยว ทำสวนมะพร้าว การประมง ทำสวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์ และปัจจุบันประชากรมีแนวโน้มที่จะประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว กิจการบังกะโล มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าจะเป็นรายได้หลักของตำบลเกาะพะงันต่อไปในอนาคต
สภาพทางเศรษฐกิจ
- การเกษตรกรรม เกษตรกรส่วนใหญ่ของตำบลเกาะพะงัน ทำสวนมะพร้าว จำนวน 30,719 ไร่ สวนผลไม้ 367 ไร่ (ประเภท ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ลางสาด) พืชผักสวนครัว 38 ไร่ การทำการเกษตรของเกษตรกรประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำและการบำรุงดิน
- การอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอำเภอเกาะพะงัน กำลังเจริญรุดหน้าเป็นอย่างมากเป็นที่รู้จักและนิยมของประชาชนทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในพื้นที่ตำบลเกาะพะงันประมาณ 200,000 คน/ปี
สภาพทางสังคม
- การศึกษาประชากรตำบลเกาะพะงันส่วนใหญ่ ได้รับการศึกษาดี เป็นพื้นที่ปลอดผู้ไม่รู้หนังสือ เกณฑ์เฉลี่ยจบการศึกษาภาคบังคับ
- การศาสนาและวัฒนธรรมประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือศาสนาอิสลาม
- การสาธารณสุข
- 301
- 2
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) จำนวน 5 แห่ง
ระบบการบริหารขั้นพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค
- การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อกับตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาศัยเรือยนต์เป็นพาหนะบางครั้งไม่สามารถเดินทางติดต่อกันได้หากมีมรสุม ส่วนการคมนาคมภายในเขตตำบลเกาะพะงันมีการติดต่อทั้งทางบกและทางเรือ บางพื้นที่แม้จะทิวทัศน์สวยงามเหมาะสมต่อการประกอบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่ขาดระบบบริการขั้นพื้นฐาน สภาพถนนในตำบลเกาะพะงัน เป็นถนนลูกรังปนทราย ซึ่งมักชำรุดเสียหายในฤดูฝนไม่มีท่อระบายน้ำ ทำให้ไม่สะดวกต่อการเดินทางติดต่อกัน ในปัจจุบันมีเส้นทางสายหลัก จำนวน 3 สาย
1. ถนนสายท่าเรือท้องศาลา หมู่ 1 - หมู่ 7 ระยะทาง 16 กิโลเมตร
2. ถนนสายท้องศาลา - วังตะเคียน ระยะทาง 8 กิโลเมตร
3. ถนนสายท้องศาลา (เลียบทะเล) – ศรีธนู - หาดสลัด ระยะทาง 8 กิโลเมตร
- สำนักงานการไฟฟ้าอำเภอเกาะพะงัน
สำนักงานการไฟฟ้าอำเภอเกาะพะงันให้บริการพื้นที่ในตำบลเกาะพะงัน แต่ในบางหมู่บ้าน เช่น หมู่ที่ 7 ชุมชนแม่หาด อ่าวหาดขวด และหมู่ที่ 8 บ้านศรีธนูบางส่วนของตำบลเกาะพะงันประชาชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวยังไม่มีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ ถึงแม้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ขยายการวางสายเคเบิลใต้น้ำระบบ 33 เควี แต่ก็ไม่สามารถบริการกระแสไฟฟ้าได้ทั่วถึง
- การประปา
การขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ถือว่าเป็นปัญหาหนักหน่วงและรุนแรงเกิดขึ้นทุกปีในตำบลเกาะพะงัน
ซึ่งมีการจัดระบบประปาเป็น 2 ประเภท
- ประปาภูเขา หรือท่อธาร จำนวน 3 หมู่บ้าน
- สถานีประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณเขาเสาธงหมู่ที่ 5 และอีกหนึ่งสาขา
หมู่ที่ 3 บ้านมะเดื่อหวาน ซึ่งมีกำลังการผลิต 500 ลบ.ม. แต่มีความต้องการเพียง 250 ลบ.ม./วัน
ทรัพยากรธรรมชาติ
1. ทรัพยากรดิน ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย มีแร่ธาตุน้อย แต่มีการระบายน้ำค่อนข้างดี เหมาะสำหรับสวนมะพร้าว
2. ทรัพยากรน้ำ แหล่งน้ำสำคัญของตำบลเกาะพะงันมีทั้งน้ำจากใต้ดินและจากท่อธาร บางแห่งทำนบกักเก็บน้ำเป็นระบบประปาภูเขา
3. ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดของตำบลเกาะพะงัน ประมาณ 33,925 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ประมาณ 24,450 ไร่ ในปัจจุบัน ที่ดินในตำบลเกาะพะงันมีราคาสูงขึ้น จึงมักจะมีการบุกรุกแผ้วถางป่าทั้งจากราษฎรในพื้นที่และต่างถิ่น
4. ทรัพยากรธรณี พวกแร่ดีบุก แร่พลวง มีอยู่ทั่วไปในเขตสัมปทาน จำนวน 2 แห่ง ปัจจุบันได้มี
การล้มเลิกกิจการไปแล้ว
5. ทรัพยากรทางทะเล เนื่องจากพื้นที่เป็นเกาะมีน้ำทะเลล้อมรอบ มีทรัพยากรในทะเลมากมายตามหนังสืออ้างอิง เรื่องราวเกาะพะงันในอดีต และตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่า ผู้แก่ในตำบลเกาะพะงัน เช่น มีปลาเกือบทุกชนิดชุกชุม ปะการังที่สวยงาม แหล่งหญ้าทะเลและพะยูน นกนางนวล นกอีแอ่น ฯลฯ สภาพในปัจจุบันทรัพยากรเหล่านี้ได้ลดลง ไปอย่างมากเนื่องจากเสียความสมดุลในระบบนิเวศวิทยาของท้องทะเลไทย ซึ่งต้องแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน
0
สภาพทางสังคม
1.1 การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา จำนวน - แห่ง
- โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง จำนวน - แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง
- หนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง ฯลฯ
1.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 7 แห่ง
- มัสยิด จำนวน - แห่ง
- ศาลเจ้า จำนวน 1 แห่ง
- โบสถ์ จำนวน 5 แห่ง
1.3 สาธารณะสุข
- โรงพยาบาลของรัฐ 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง
- คลีนิกเอกชน จำนวน 2 แห่ง
- แพทย์ จำนวน 4 คน
- ทันตแพทย์ จำนวน 2 คน
- เภสัชกร จำนวน 3 คน
1.4ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ จำนวน 1 แห่ง
- สถานีดับเพลิง จำนวน - แห่ง
0
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ (แสดงอาชีพของประชากรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเพชรพะงัน)
- อาชีพประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว
- อาชีพทำสวนมะพร้าว
- อาชีพการประมง
- อาชีพรับราชการ รับจ้างทั่วไป
หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลเพชรพะงัน
- ธนาคาร จำนวน - แห่ง
- โรงแรม (บังกะโล) จำนวน 500 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันก๊าด จำนวน 4 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน - แห่ง
- โรงสี จำนวน - แห่ง
0
ศักยภาพในตำบล
ก.จำนวนบุคลากร
(1) จำนวนบุคลากรเทศบาลตำบลเพชรพะงัน มีพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้าง จำนวน 41 คน
- พนักงานเทศบาล จำนวน 18 คน
- พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 11 คน
- พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 12 คน
ข. ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
(1) การรวมกลุ่มของประชาชนอำนวยกลุ่มทุกประเภท แยกประเภทกลุ่ม
-
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 2 กลุ่ม
กลุ่ม OTOP จำนวน 2 กลุ่ม (หมู่ 5, 7 ) - กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 5 กองทุน (หมู่ 4 – 8)
- กองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 3 กองทุน (หมู่ 4, 6, 7)
- โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 1 กองทุน (หมู่ 5)
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 4 กลุ่ม
- กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 2 กลุ่ม
(2) จุดเด่นของพื้นที่
มีทรัพยากรท่องเที่ยว พืชเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนเข้มแข็ง